เปลี่ยนภาษา:  English

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเอกวิทยาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ภาษาไทย ภาคพิเศษ (ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป)
ระยะเวลา:           3.5 ปี
จำนวนรับเข้า:     50 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า               121            หน่วยกิต
    ประกอบด้วย
    วิชาศึกษาทั่วไป                                            30           หน่วยกิต
    วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า                                  75           หน่วยกิต
    วิชาเลือก/วิชาภาคปฏิบัติ ไม่น้อยกว่า         10           หน่วยกิต
    วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า                               6           หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:
  • ค่าหน่วยกิต 1,500 บาทต่อ 1 หน่วยกิต
  • ค่าธรรมเนียมพิเศษปีละ 25,000 บาท

สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
  098-561-8157
  khae@mathstat.sci.tu.ac.th

  https://math.sci.tu.ac.th
  Mathstat TU
 @mathstat_tu
 mathstat_tu
 Mathstat TU

“สร้างสรรค์การเรียนรู้ เคียงคู่นวัตกรรม นำสังคมสู่การเปลี่ยนแปลง”

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์วิชาเอกวิทยาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนในเชิงลึก โดยเน้นการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสอน และการออกแบบสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสามารถนำความรู้และกระบวนการไปจัดการเรียนรู้และสร้างฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เข้มแข็งให้กับสังคม

นักศึกษาในหลักสูตรจะได้เรียนรายวิชาที่เป็นพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น แคลคูลัส หลักการทางคณิตศาสตร์ พีชคณิต การวิเคราะห์เชิงจริง โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิดการบูรณาการของรายวิชา อีกทั้งหลักสูตรยังมีรายวิชาเลือกที่หลากหลาย ได้แก่ การคิดเชิงวิเคราะห์และการออกแบบสำหรับปัญหาการแข่งขันทางคณิตศาสตร์ อสมการและการประยุกต์ ระบบจำนวน รากฐานเรขาคณิต คณิตศาสตร์การเงิน ทฤษฎีเกม ทฤษฎีรหัส เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น หลักสูตรได้ทำความร่วมมือกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาในหลักสูตร ได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ โดยการเรียน การบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้ การเรียนรู้ของมนุษย์ นวัตกรรมทางการเรียนรู้ แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติงานด้านการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับภาคปฏิบัติ โดยสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือศึกษาต่อในสาขาคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ คอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
  • กระบวนกรหรือวิทยากรกระบวนการด้านคณิตศาสตร์
  • นักออกแบบสื่อการเรียนการสอนด้านคณิตศาสตร์
  • ครู อาจารย์ นักวิชาการ