เปลี่ยนภาษา:  English

สาขาวิชาสถิติประยุกต์

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 8 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1) ผู้เข้าศึกษาต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทุกสาขาจากสถาบันทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ และเคยศึกษาวิชาคณิตศาสตร์หรือสถิติมาอย่างน้อย 6 หน่วยกิต
2) ผู้เข้าศึกษาที่เป็นชาวต่างชาติต้องสามารถฟัง อ่าน พูด เขียน ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
3) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ยกเว้นสําหรับผู้เข้าศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป ไม่ต้องสอบข้อเขียนแต่ต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงวิชาการ
4) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร)
5) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีา)

จำนวนหน่วยกิต:

1. โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure) :
แผน ก. แบบ ก. 2 (ศึกษารายวิชาและทําวิทยานิพนธ์)
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผน ข. (ไม่ทําวิทยานิพนธ์)
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
4) การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต

*จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต
**วิชาบังคับ ได้แก่ ทฤษฎีความน่าจะเป็น ทฤษฎีการอนุมานเชิงสถิติ การวิเคราะห์เชิงสถิติ ตัวแบบเชิงเส้นประยุกต์ การให้คำปรึกษาทางสถิติ และสัมมนา

ค่าเล่าเรียน:

  • 18,500 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

1) คุณรุ่งทิพย์ ชาติสวัสดิ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ต.คลองหนึ่ง
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
TEL: 025644440-79 ต่อ 2056

2) คุณมาลัย แก้วกลิ่น
TEL: 02-5644440-59 (ธรรมศาสตร์) ต่อ 2518
FAX: 02-564-4489

Website: https://math.sci.tu.ac.th

คำอธิบายหลักสูตร

มากกว่า 50 ปีที่ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาสถิติ และมหาบัณฑิตสาขาสถิติประยุกต์ ที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ทางสถิติทั้งในทฤษฎีเชิงลึก และการประยุกต์ใช้สถิติกับศาสตร์อื่นๆ มหาบัณฑิตจากหลักสูตรฯ ปัจจุบันเป็นผู้นำในองค์กรชั้นนำต่างๆทั้งภาครัฐ และเอกชน อย่างไรก็ตามหลักสูตรฯก็ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยการปรับปรุงหลักสูตรให้ร่วมสมัย เพิ่มเติมองค์ความรู้ในการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยเทคนิคใหม่ที่เหมาะสม ฝึกฝนการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ และการหาข้อสรุปเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรและประเทศต่อไป

หัวข้องานวิจัย

Actuarial Science
Applied Statistics
Bayesian Statistics
Biostatistics
Business Statistics
Computational Statistics
Computer Simulations
Data Science
Educational Statistics
Mathematical Statistics
Spatial Statistics

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

ท่ามกลางยุคของข้อมูล ความต้องการบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในสถิติอยู่ในระดับสูง เป้าหมายของผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรฯอาจจะเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสถิติ ในวงการวิชาการ รัฐบาล อุตสาหกรรม หรือเป็นนักสถิติในด้านการธนาคาร การเงิน หรือธุรกิจเอกชน เพื่อเตรียมพร้อมให้มหาบัณฑิตของหลักสูตรฯมีความรู้อย่างลึกซึ้งในด้านสถิติ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักวิจัยที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ทางคณิติศาสตร์และสถิติ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ