เปลี่ยนภาษา:  English

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์  หลักสูตรนานาชาติ

โครงสร้างหลักสูตร

  • แผน 1 (ทำวิทยานิพนธ์เท่านั้น)

แผน 1.1 (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท)

  • วิชาเสริมทักษะด้านการวิจัย 5  หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
  • วิทยานิพนธ์  48  หน่วยกิต

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า           48        หน่วยกิต

  • แผน 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

แผน 2.1 (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท)

  • วิชาเสริมทักษะด้านการวิจัย 3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
  • วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า          48        หน่วยกิต

แผน 2.2 (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี)

  • วิชาเสริมทักษะด้านการวิจัย 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
  • วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
  • วิชาเลือก 12 หน่วยกิต
  • วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า          72        หน่วยกิต

แผน 1.1 และ 2.1 เป็นหลักสูตร 3 ปี สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนแผน 2.2 เป็นหลักสูตร 4 ปี สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

มีทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาเต็มจำนวนตลอดระยะเวลาการศึกษาปกติ

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

คุณมาลัย แก้วกลิ่น
 089–775–2636
 malai@mathstat.sci.tu.ac.th
 TU-Ph.D.-Mathematics

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา

  • แผน 1.1 และแผน 2.1

    • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
    • เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
    • มีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ TU-GET (Paper-based ≥ 500 หรือ Internet-based ≥ 61) หรือ IELTS ≥ 5
    • กรณีคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์ อาจได้รับการพิจารณาแบบมีเงื่อนไข

    แผน 2.2

    • สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
    • มีหน่วยกิตวิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
    • เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
    • มีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ TUGET (Paperbased ≥ 500 หรือ Internetbased ≥ 61) หรือ IELTS ≥ 6.5
    • กรณีคะแนนภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์ อาจได้รับการพิจารณาแบบมีเงื่อนไข

ขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • ผู้เข้าศึกษาต้องนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการคัดเลือก ดังนี้
    • ข้อมูลส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)
    • งานวิจัยหรือโครงงานที่ผ่านมา
    • หัวข้องานวิจัยที่ต้องการศึกษาในระดับปริญญาเอก
  • ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ โดยตอบคำถามเชิงวิชาการและงานวิจัยกับคณะกรรมการคัดเลือก

แนวทางประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
  • นักวิจัยในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย
  • นักวิชาการในสถาบันการศึกษาและองค์กรด้านวิทยาศาสตร์